สร้างความเข้าใจอีกครั้ง!!… ฟ้อง 9 แกนนำ ในคดียุยงปลุกปั่น ไม่ใช่เพราะแต่งกายชุดมลายู

91

          จากกรณีที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้แต่งตั้งผู้แทนเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรสายบุรี จังหวัดปัตตานี เพื่อดำเนินคดีต่อคณะแกนนำในการจัดงานและร่วมทำกิจกรรมที่มีเนื้อหา รูปแบบในลักษณะของการยุยงปลุกปั่นให้เยาวชนร่วมกันปฏิวัติกอบกู้เอกราชรัฐปาตานี ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 โดยสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP) ณ หาดวาสุกรี ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

          จากการตรวจสอบด้วยการสังเกตการณ์และตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์พบว่า รูปแบบการดำเนินกิจกรรมและเนื้อหาการแสดงออกที่อยู่ในความควบคุมของคณะแกนนำผู้จัดนั้น มีเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นการยุยงปลุกปั่น มีการแสดงธงของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนกลุ่ม BRN รวมทั้งมีการกล่าวถ้อยคำบนเวทีอันมีลักษณะว่า “มีศัตรูมาทำลายชาติมลายูปาตานีทำให้เสียเอกราช เยาวชนต้องรวมตัวกันทำให้หมดไปซึ่งการถูกกดขี่ข่มเหง” การกล่าวถ้อยคำว่า “วันรายอที่ 3 เป็นวันเยาวชนแห่งชาติปาตานี” รวมทั้งกิจกรรมร้องเพลงปลุกใจ มีเนื้อหาทำนองให้เยาวชนร่วมกันปฏิวัติกอบกู้เอกราชรัฐปาตานีคืนมา ซึ่งพฤติการณ์และการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดอาญา

          ดังนั้น คณะพนักงานสอบสวนจึงได้รวบรวมพยานหลักฐานและมีความเห็นควรส่งฟ้อง นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ กับพวกรวม 9 คน ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาหนังสือหรือด้วยวิธีอื่นใดอันมิใช่กระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต (2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดินมาตรา 209 ความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ มาตรา 210 ความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร

          และดำเนินคดีตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กรณีการชุมนุมฝ่าฝืนมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งต่อมาพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องตามพนักงานสอบสวน และวันที่ 24 มีนาคม 2568 ที่จะถึงนี้จะเป็นวันครบรอบที่อัยการจังหวัดปัตตานี เลื่อนนัดเพื่อยื่นฟ้อง คดีกับนักกิจกรรมทั้ง 9 ราย

          ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ผู้ต้องหาคดีดังกล่าวพยายามยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและอัยการสูงสุด เพื่อขอให้ทบทวนคำสั่งของอัยการ คดีอาญา 4 ภาค 9 ที่มีความเห็นควรสั่งฟ้อง นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ กับพวก เช่นเดียวกับความเห็นของพนักงานสอบสวนคดีความมั่นคง

          อย่างไรก็ตาม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ขอเรียนให้ทราบว่า ตามที่มีแนวร่วมกลุ่มแกนนำของผู้จัดกิจกรรมพยายามชี้นำบิดเบือนว่า กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ดำเนินการฟ้องแกนนำทั้ง 9 ราย ในข้อหา จัดกิจกรรมสวมชุดมลายู รวมถึงการแสดงออกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่สาธารณะของประชาชนในพื้นที่นั้น ข้อความดังกล่าวไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด

          ในทางตรงกันข้าม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้พยายามส่งเสริมอัตลักษณ์ การแต่งกาย ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ดังจะเห็นได้จากการกำหนดงานการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นหนึ่งในงานนโยบายสำคัญของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อันจะทำให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเข้าใจ จะทำให้สันติสุขกลับคืนมาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแน่นอน

          สำหรับในคดีดังกล่าว ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 สำนักอัยการสูงสุดได้สั่งยุติคำร้องขอความเป็นธรรมของนักกิจกรรม 9 คนในคดี “ยุยงปลุกปั่น” ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงานอัยการสูงสุดไว้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 และพิจารณาว่าพยานที่นักกิจกรรมทั้ง 9 คน ได้เสนอเพิ่มเติมไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคดียุยงปลุกปั่นได้ ทั้งนี้กลุ่มนักกิจกรรมยังเคยพยายามเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านการพบปะกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนแต่อย่างใด

          กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จึงขอสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนอีกครั้งว่าคดีดังกล่าวเป็น “คดียุยงปลุกปั่น” ที่มีรายละเอียดการปฏิบัติในกิจกรรมอาจผิดต่อกฎหมาย ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่สื่อสังคมออนไลน์บางสื่อบิดเบือนให้เป็นคดีในลักษณะอื่น ขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณเปรียบเทียบข้อมูลข่าวสารก่อนตัดสินใจเชื่อในข้อมูลข่าวสาร

แม่ทัพภาคที่4   แม่ทัพไพศาล

ศูนย์ประชาสัมพันธ์  กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า

  เนื้อข่าวภาษารูมี

   Membuat Penjelasan Semula!!… Menyaman 9 Pemimpin dalam Kes Hasutan Bukan Kerana Mengenakan Pakaian Melayu

   Berikutan kes di mana Gabenor Wilayah Ke-4 (G4) telah melantik wakil untuk membuat laporan polis terhadap pihak yang terlibat dalam menganjurkan dan menjalankan aktiviti yang berunsur hasutan untuk mengajak golongan belia bangkit dalam revolusi untuk memulihkan kemerdekaan Negara Patani. Aktiviti tersebut diadakan pada 4 Mei 2022 oleh Majlis Masyarakat Madani untuk Keamanan (CAP) di Pantai Wasukri, Kampung Taluban, Daerah Sairburi, Wilayah Pattani.

   Pemeriksaan melalui pemantauan dan berdasarkan maklumat di media sosial mendapati bahawa bentuk dan kandungan aktiviti yang dikendalikan oleh pemimpin penganjur tersebut mengandungi unsur-unsur hasutan. Dalam aktiviti tersebut, bendera kumpulan pemisah BRN dipamerkan dan terdapat kenyataan yang mengandungi elemen hasutan di atas pentas seperti “Ada musuh yang mahu menghancurkan bangsa Melayu Patani dan merampas kemerdekaannya. Belia perlu bangkit dan hapuskan penindasan” serta “Hari Raya ketiga adalah Hari Belia Patani” bersama dengan nyanyian yang menyeru belia untuk bangkit memulihkan kemerdekaan Negara Patani. Kelakuan dan perbuatan tersebut boleh disifatkan sebagai satu kesalahan jenayah.

   Oleh itu, pihak penyiasat telah mengumpul bukti dan berpendapat bahawa kes ini perlu dibawa ke mahkamah dengan mendakwa Mohd Aladi Dengni bersama 8 individu lain mengikut Kanun Keseksaan Seksyen 116 kerana bersama-sama membuat kenyataan yang meresahkan masyarakat dan menyebabkan ketidakstabilan dalam negara, serta menggalakkan pelanggaran undang-undang negara di bawah Seksyen 209, 210.

   dan melaksanakan tindakan mengikut Peraturan Pentadbiran Kerajaan dalam Keadaan Darurat berhubung dengan perhimpunan yang melanggar langkah-langkah pencegahan penyakit COVID-19, yang mana kemudian pegawai pendakwaan memberikan pendapat untuk mendakwa mengikut siasatan oleh pegawai penyiasat, dan pada 24 Mac 2568 (2025) ini akan menjadi ulang tahun yang ke-sekian bagi Pejabat Pendakwa Raya daerah Pattani menunda jadual untuk memfailkan dakwaan terhadap 9 aktivis.

   Sebelum ini, pada Oktober 2024, suspek dalam kes ini cuba menghantar surat kepada Suruhanjaya Hak Asasi Manusia Negara dan Pendakwa Raya Agung untuk meminta semakan semula keputusan pendakwaan yang dicadangkan oleh pegawai penyiasat yang berkenaan.

  Namun, Pusat Pemerintahan Keselamatan Dalam Negeri Wilayah 4 mengesahkan bahawa dakwaan bahawa mereka mendakwa 9 individu atas kesalahan berpakaian Melayu adalah tidak benar sama sekali. Sebaliknya, mereka berusaha menggalakkan identiti, pakaian, agama, bahasa, dan budaya masyarakat setempat, termasuk promosi kehidupan bersama dalam masyarakat majmuk yang kuat di bawah dasar keselamatan dalam negeri yang diterapkan selama ini.

   Kes ini berakhir apabila pada 7 Januari 2025, Pejabat Pendakwa Raya Agung memutuskan untuk menolak rayuan keadilan yang dibuat oleh 9 aktivis tersebut dan menegaskan bahawa bukti yang dikemukakan oleh mereka tidak relevan dan tidak mengubah fakta kes tersebut.

    Pusat Pemerintahan Keselamatan Dalam Negeri Wilayah 4 ingin memberi penjelasan sekali lagi kepada masyarakat bahawa kes ini berkaitan dengan “kes hasutan” dan tidak melibatkan kes lain seperti yang disebarkan dalam beberapa media sosial. Orang ramai diminta untuk berhati-hati dan mempertimbangkan maklumat sebelum membuat keputusan.

#TenteraKeempat #PanglimaPaisan

#PusatPerhubungan #PusatPemerintahanKeselamatan

  เนื้อข่าวภาษาอังกฤษ

   Clarification Again!!… The Lawsuit Against 9 Leaders in the Incitement Case is Not Due to Wearing Malay Clothing

   Following the case where the Internal Security Operations Command (ISOC) Region 4 Forward Command appointed representatives to file a complaint with the police at the Sai Buri Police Station in Pattani province, regarding legal action against the group of leaders involved in organizing and participating in an activity that contained content and elements of incitement, encouraging youth to unite in a revolution to restore the independence of the Pattani state. This activity took place on May 4, 2022, organized by the Civil Society Assembly for Peace (CAP) at Wasukri Beach, Taluban Subdistrict, Sai Buri District, Pattani Province.

   Upon investigation through observation and as seen on social media, it was found that the activity’s format and the content conveyed by the organizing leaders had elements of incitement. The group displayed the flag of the BRN separatist movement and made statements on stage such as “There are enemies trying to destroy the Malay Patani nation and take away our independence. Youth must unite to end oppression,” as well as “The third day of Raya is National Youth Day of Patani,” along with songs encouraging youth to join the revolution to restore the independence of the Pattani state. These actions and behavior could be deemed as criminal offenses.

   As a result, the investigative team has collected evidence and concluded that the case should proceed to court, with charges against Muhammad Aladi Dengni and 8 others under Section 116 of the Penal Code for conspiring to publicly make statements, whether orally, in writing, or by other means, which are not in accordance with the objectives of the Constitution or honest opinions and criticisms. The charges also include creating public unrest to the point that it could lead to disorder in the kingdom, as well as inciting people to violate the law under Sections 209 and 210 of the Penal Code.

   And proceed with legal action under the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations, in the case of a gathering that violates the COVID-19 prevention measures. Subsequently, the public prosecutor has decided to file charges based on the investigation by the police. On March 24, 2025, which is approaching, it will be the anniversary when the Public Prosecutor of Pattani Province postponed the appointment to file the lawsuit against the